พัฒนาการทางภาษา

               “การอ่านและเขียน ค่อนข้างจะแตกต่างจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวหนังสือ เพราะจะปรากฏเป็นคำ ไม่ใช่เป็นรูปลักษณะของตัวอักษร”
The Discovery of the Child หน้า 215 บทที่ 15

              มอนเตสซอรีตระหนักว่าเด็กจะต้องผ่านช่วงภาวะความพร้อมของพัฒนาการทางภาษาอยู่สองระยะ โดยระยะแรกเป็นช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งอายุ 5 ขวบ และช่วงที่สองเกิดขึ้นระหว่างอายุ 7 ถึง 9 ขวบ

              ระยะแรก เกี่ยวกับในแง่ของประสาทสัมผัส และพัฒนาจากการพยายามออกเสียงตามคำง่ายๆ ผ่านระยะของความเข้าใจถึงความสำคัญว่าทุกสิ่งมีชื่อเป็นของตนเอง ไปจนถึงเรื่องการมีความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นต่อ เสียง และรูปทรง และท้ายที่สุดถึงระดับความสามารถในการเขียน อ่าน และการค้นหาความหมาย

              ระยะที่สอง จะเกี่ยวข้องกับความสนใจในการสร้างสรรค์ประโยค เช่น ไวยากรณ์ เธอพบว่าเด็กทุกคนมีความสามารถในการแยกแยะเป็นพิเศษในช่วงระยะแรก และเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้เด็กแต่ละคนมีความชำนาญในภาษาของตนเองอย่างง่ายดายซึ่งจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยหลังจากระยะนี้

              อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างระยะการพัฒนาการทางภาษาโดยธรรมชาตินี้ จะทำให้เกิดความเสียหายแก่เด็ก และจะส่งผลต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นในทุกขั้นตอนการทำงานของเธอ เธอจะสังเกตอย่างรอบคอบว่าเด็กแสดงการเล่นกิจกรรมใดๆ ให้เธอเห็น ก่อนที่เธอจะให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษต่อการพัฒนาการของเด็กนั้นๆ

              การที่เด็กๆได้แสดงให้เธอเห็นว่า การที่จะเขียนหนังสือได้นั้น ต้องมีการฝึกหัดการพัฒนาของกล้ามเนื้อมือให้สมบูรณ์ด้วยวิธีทางอ้อมก่อน  ในขณะที่การอ่าน จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการบริหารความคิดสติปัญญา โดยเด็กจะมีความสามารถโดยธรรมชาติ ที่จะได้ความสามารถนั้นๆ มา

              เธอเริ่มต้นด้วยการดูจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่คิดค้นโดย Seguin  แต่ในที่สุดเธอก็พัฒนาอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจนเป็นอุปกรณ์ในรูปแบบของเธอเอง  เธอผลิตตัวอักษรกระดาษทรายเอง เนื่องจากไม่ได้มีทุนในการจ้างทำ และค้นพบอีกด้วยว่า รุ่นที่มีความหยาบมากที่สุด จะใช้ได้ผลดีกว่ารุ่นที่มีความหยาบน้อยกว่า “ถ้าฉันรวย ฉันก็คงยังต้องใช้ตัวอักษรที่ดูสวยงามแต่ไม่ให้ผลดี อยู่ต่อไป”เหมือนกัน หน้า 200 บทที่ 14

              เธอพบว่าเด็กสามารถผสมตัวอักษรขึ้นเป็นคำ ได้ก่อนที่จะสามารถอ่านหรือเขียนได้และยังประหลาดใจที่ได้ค้นพบอีกว่า   เด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการเขียนขึ้นโดยธรรมชาติจากกิจกรรมนี้“มันเป็นเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่เกิดใน “บ้านเด็ก” พวกเรารู้สึกตะลึงราวกับเห็นสิ่งมหัศจรรย์กำลังเกิดขึ้น”
The Secret of Childhood หน้า 132 บทที่ 19

              เธอพบว่าการอ่านจะเกิดขึ้นภายหลังจากเด็กสามารถเชื่อมโยงกับคำศัพท์ที่เขียนเป็นคำแล้ว

             ในการทำงานของมอนเตสซอรีในด้านอื่นๆ เธอไม่ได้คาดหวังว่าจะมีปาฏิหาริย์เช่นนี้เกิดขึ้น สิ่งที่เธอเห็นทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าความสามารถของเด็กจะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็กเสมอ และทำให้เธอมุ่งสนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ “ช่วงภาวะความพร้อม”มากยิ่งขึ้น

             พลังทั้งสองของจิต (จินตนาการ และมโนสำนึก) มีความหมายมากกว่าเพียงการรับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น มีส่วนในการเสริมสร้างความนึกคิด และเป็นส่วนสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษา

             "ความรู้ด้านตัวอักษรส่วนหนึ่ง และหลักไวยากรณ์อีกส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้ด้านคำศัพท์มากมาย สำหรับคำศัพท์นั้น หากจะใช้เพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านภาษา จะต้องมีทักษะในการออกเสียง และการใช้ไวยากรณ์ และสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาการด้านภาษา จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ในกระบวนการทางจิต
The Absorbent Mind หน้า 168 บทที่ 17